Google+ โรงเรียนสิชลประชาสรรค์

วันจันทร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2558

การศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การเคลื่อนที่ โดยใช้กระบวนการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้

ชื่อเรื่อง                  การศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การเคลื่อนที่ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้กระบวนการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E)  
ชื่อผู้ศึกษา             นางสาวปรีดา  ตะเหลบ
กลุ่มงาน                กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนสิชลประชาสรรค์
ปีที่รายงาน           ปีการศึกษา 2557


บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การเคลื่อนที่ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้กระบวนการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ เท่ากับ 75/75 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลังใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ และศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การเคลื่อนที่ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้กระบวนการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ระเบียบวิธีศึกษามี 3 ขั้นตอน โดยขั้นแรกสร้างเครื่องมือในการศึกษา ขั้นที่สองหาคุณภาพของเครื่องมือที่สร้างขึ้น และขั้นสุดท้ายนำเครื่องมือที่มีเหล่านั้นไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ห้อง 2 โรงเรียนสิชลประชาสรรค์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12  ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 จำนวนนักเรียน 40 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง การศึกษาเป็นแบบ One  Group Pretest-Posttest  Design  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การเคลื่อนที่ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้กระบวนการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E)  ซึ่งมีจำนวน 7 ชุด คือ ชุดกิจกรรมที่ 1 การบอกตำแหน่งของวัตถุ ระยะทาง และการกระจัด ชุดกิจกรรมที่ 2 อัตราเร็ว ชุดกิจกรรมที่ 3 ความเร็วและความเร่ง ชุดกิจกรรมที่ 4 การเคลื่อนที่ในแนวดิ่งแบบอิสระ ชุดกิจกรรมที่ 5 การเคลื่อนที่แบบโพรเจคไทล์ ชุดกิจกรรมที่ 6 การเคลื่อนที่แบบวงกลม และชุดกิจกรรมที่ 7 การเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย จากนั้นหาประสิทธิภาพจากสูตร E1/E2 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย () ค่าร้อยละ (%) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และทดสอบที (t-test)

ผลการศึกษาพบว่า ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การเคลื่อนที่ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 4 โดยใช้กระบวนการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) มีประสิทธิภาพเท่ากับ 78.22/78.10 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การเคลื่อนที่ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้กระบวนการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การเคลื่อนที่ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้กระบวนการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) อยู่ในระดับมากที่สุด
https://plus.google.com/+Xn42cfja7en0cgbebav2ef8g9a3ap2tmbysBlogspot111/posts/JJrenQR7sjd

              https://www.facebook.com/schp.ac.th/posts/774731615935654

วันอาทิตย์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2558

รายงานการพัฒนาเอกสารประกอบการเรียนรายวิชาการปลูกไม้ดอกไม้ประดับ

ชื่อรายงาน  รายงานการพัฒนาเอกสารประกอบการเรียนรายวิชาการปลูกไม้ดอกไม้ประดับ 
       รหัสวิชา ง20209 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี 
       ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

ผู้ศึกษาค้นคว้า          ธวัชชัย อินเล็ก
สถาบันการศึกษา      โรงเรียนสิชลประชาสรรค์ 
ปีการศึกษา                2557

บทคัดย่อ

            การศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงทดลอง ที่ผู้รายงานดำเนินการทดลองเอง โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้  1)  เพื่อพัฒนาเอกสารประกอบการเรียน รายวิชา การปลูกไม้ดอกไม้ประดับ         รหัสวิชา ง20209 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน ด้วยเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง การปลูก   ไม้ดอกไม้ประดับ รหัสวิชา ง20209  3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  ที่มีการจัดการเรียนรู้ด้วยเอกสารประกอบการเรียน รายวิชา การปลูกไม้ดอกไม้ประดับ รหัสวิชา     ง20209
                   ประชากร  คือ  ประชากรที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2         ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2557 ของโรงเรียนสิชลประชาสรรค์ อำเภอสิชล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 12 ที่เลือกเรียนรายวิชาการปลูกไม้ดอกไม้ประดับ รหัสวิชา ง20209 จำนวน 45 คน  กลุ่มตัวอย่าง  คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 ของโรงเรียนสิชลประชาสรรค์ อำเภอสิชล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 12          ที่เลือกเรียนรายวิชาการปลูกไม้ดอกไม้ประดับ รหัสวิชา ง20209 จำนวน 25 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่ายโดยวิธีการจับฉลาก
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ประกอบไปด้วย  เอกสารประกอบการเรียนรายวิชา   การปลูกไม้ดอกไม้ประดับ ง20209 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 7 เรื่อง  แผนการจัดการเรียนรู้ รายวิชาการปลูกไม้ดอกไม้ประดับ ง20209 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 20 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาการปลูกไม้ดอกไม้ประดับ ง20209 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ซึ่งเป็นแบบทดสอบชนิดปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ ซึ่งมีค่าความยากง่าย (P) อยู่ระหว่าง 0.27-0.80  และค่าอำนาจจำแนก (r) อยู่ระหว่าง 0.27-0.70และค่าความเชื่อมั่นเท่า 0.88



ผลการศึกษา พบว่า
                1.  เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง การปลูกไม้ดอกไม้ประดับ รหัสวิชา ง20209              ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 84.45/85.10 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
                2.  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียน รายวิชาการปลูกไม้ดอกไม้ประดับ รหัสวิชา ง20209 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
                   3.  ระดับความพึงพอใจในการเรียนรู้ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาการปลูกไม้ดอกไม้ประดับ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีคะแนนระดับความพึงพอใจเฉลี่ย 4.68 อยู่ในระดับมากที่สุดเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

Facebook.com

Google plus

วันศุกร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2557

รายงานการใช้เอกสารประกอบการเรียน เรื่องภัยพิบัติทางธรรมชาติ

ชื่อเรื่อง                   รายงานการใช้เอกสารประกอบการเรียน  เรื่องภัยพิบัติทางธรรมชาติ  รายวิชา
                                ภูมิศาสตร์กายภาพ   รหัส ส 30205  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
                                โรงเรียนสิชลประชาสรรค์
ผู้ศึกษา                  นางกมลทิพย์  ศิริทัพ
                                ตำแหน่งครู  วิทยฐานะครูชำนาญการโรงเรียนสิชลประชาสรรค์
ปีการศึกษา           2556

บทคัดย่อ
การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ มีความมุ่งหมายดังนี้1.เพื่อสร้างเอกสารประกอบการเรีย เรื่องภัยพิบัติทางธรรมชาติ รายวิชาภูมิศาสตร์กายภาพ ส 30205 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5  โรงเรียนสิชลประชาสรรค์  จังหวัดนครศรีธรรมราช ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80  2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการใช้เอกสารประกอบการเรียน เรื่องภัยพิบัติทางธรรมชาติ รายวิชาภูมิศาสตร์กายภาพ ส 30205 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5โรงเรียนสิชลประชาสรรค์ จังหวัดนครศรีธรรมราช 3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ โรงเรียนสิชลประชาสรรค์  จังหวัดนครศรีธรรมราช  ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เอกสารประกอบการเรียนเรื่องภัยพิบัติทางธรรมชาติ รายวิชาภูมิศาสตร์กายภาพ ส 30205 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2โรงเรียนสิชลประชาสรรค์   จังหวัดนครศรีธรรมราช ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 40 คน ที่ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย  ใช้วิธีการจับสลากหมายเลขห้องเรียนจำนวน 1 ห้องเรียน จาก 4 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า คือ เอกสารประกอบการเรียนเรื่องภัยพิบัติทางธรรมชาติ  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้เอกสารประกอบการเรียนเรื่องภัยพิบัติทางธรรมชาติ รายวิชาภูมิศาสตร์กายภาพ ส 30205 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่  ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
การศึกษาพบว่า เอกสารประกอบการเรียน  เรื่องภัยพิบัติทางธรรมชาติ  รายวิชาภูมิศาสตร์กายภาพ ส 30205  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสิชลประชาสรรค์  จังหวัดนครศรีธรรมราช  มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 84.20/82.50 เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน  เรื่องภัยพิบัติทางธรรมชาติ  รายวิชาภูมิศาสตร์กายภาพ ส 30205 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5 โรงเรียนสิชลประชาสรรค์  จังหวัดนครศรีธรรมราช  มีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  นอกจากนี้ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อเอกสารประกอบการเรียน  เรื่องภัยพิบัติทางธรรมชาติ  รายวิชาภูมิศาสตร์กายภาพ            ส 30205  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5 โรงเรียนสิชลประชาสรรค์  จังหวัดนครศรีธรรมราช  โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

วันอังคารที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2557

รายงานการใช้ชุดกิจกรรม เรื่องประวัติศาสตร์สมัยรัตนโกสินทร์

ชื่อเรื่อง                                  รายงานการใช้ชุดกิจกรรม เรื่องประวัติศาสตร์สมัยรัตนโกสินทร์                 รายวิชาประวัติศาสตร์ 5 รหัส ส 23102  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
                                โรงเรียนสิชลประชาสรรค์
ผู้ศึกษา                  นางสาวจารุณี  ลีละวุฒิ                                   
                                ตำแหน่งครู  วิทยฐานะครูชำนาญการ
                                โรงเรียนสิชลประชาสรรค์
ปีการศึกษา           2556


บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพชุดกิจกรรม เรื่อง ประวัติศาสตร์สมัยรัตนโกสินทร์ รายวิชาประวัติศาสตร์ 5 รหัส ส 23102 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียน    สิชลประชาสรรค์ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังใช้ชุดกิจกรรม เรื่อง ประวัติศาสตร์สมัยรัตนโกสินทร์ รายวิชาประวัติศาสตร์ 5 รหัส    ส 23102 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสิชลประชาสรรค์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้  เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 37 คน ที่กำลังเรียนอยู่ในภาคเรียนที่ 1         ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนสิชลประชาสรรค์ จังหวัดนครศรีธรรมราช  ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยชุดกิจกรรม เรื่อง ประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์ รายวิชาประวัติศาสตร์ 5 รหัส ส 23102 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรม เรื่อง ประวัติศาสตร์สมัยรัตนโกสินทร์ รายวิชาประวัติศาสตร์ 5 รหัส ส 23102 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสิชลประชาสรรค์ สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที

การศึกษาพบว่า ชุดกิจกรรม เรื่อง ประวัติศาสตร์สมัยรัตนโกสินทร์ รายวิชา ประวัติศาสตร์ 5 รหัส ส 23102 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสิชลประชาสรรค์ มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 84.72/84.04 เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้ชุดกิจกรรม เรื่อง ประวัติศาสตร์สมัยรัตนโกสินทร์ รายวิชาประวัติศาสตร์ 5 รหัส ส 23102 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสิชลประชาสรรค์ มีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 นอกจากนี้ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรม เรื่อง ประวัติศาสตร์สมัยรัตนโกสินทร์ รายวิชาประวัติศาสตร์ 5 รหัส ส 23102 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสิชลประชาสรรค์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
https://www.facebook.com/schp.ac.th/posts/755266584548824
https://plus.google.com/+Xn42cfja7en0cgbebav2ef8g9a3ap2tmbysBlogspot111/posts/PdkfQg7VtFy